test

วงจรการควบคุมทำงานของกระบอกสูบ

วงจรการควบคุมทำงานของกระบอกสูบ
การควบคุมในระบบนิวเมติกส์แบ่งเป็นสองชนิด
1. การควบคุมโดยทางตรง
2. การควบคุมโดยทางอ้อม
การควบคุม โดยทางตรง
การควบคุมโดยทางตรงเป็นการต่อลมจากแหล่งจ่ายผ่านวาล์วควบคุมทิศทางไปกระบอกสูบโดยตรง เหมาะสำหรับงาน
ที่ตำแหน่งการควบคุมอยู่ใกล้ออุปกรณ์ทำงาน คือกระบอกสูบ
วงจรควบคุมกระบอกสูบทางเดียว
กระบอกสูบทางเดียว ใช้วาล์ว 2/2 ปกติปิด เลื่อนลิ้นไปด้วยมือ เลื่อนลิ้นกลับด้วยสปริงตามภาพ

หลักการทำงาน
เมื่อกดวาล์ว 2/2 ทำให้ลมไหลจาก 1(P) ไป 2(A) จะเข้ากระบอกสูบ ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ออก เมื่อปล่อยมือ วาล์ว 2/2 จะเลื่อนกลับด้วยสปริง แต่อยู่ในตำแหน่งปิด ทำให้ลมจากกระบอกสูบไม่สามารถระบายออกได้ลูกสูบจึงยังค้างอยู่

กระบอกสูบทางเดียว ใช้วาล์ว 2/2 ปกติปิด เลื่อนลิ้นไปด้วยมือ เลื่อนลิ้นกลับด้วยสปริง ควบคุมจำนวน 2 ตัว

หลักการทำงาน
เมื่อกดวาล์ว 2/2 ทำให้ลมไหลจาก 1(P) ไป 2(A) เข้ากระบอกสูบ ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ออก เมื่อปล่อยมือ วาล์ว 2/2 จะเลื่อนกลับด้วยสปริง แต่ลูกสูบยังคงค้างอยู่ ต่อมากดวาล์ว 2/2 ทำให้ลมไหลจากกระบอกสูบออกทาง 2(A) ไป 1(P) ระบายสู่บรรยากาศ ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่กลับด้วยแรงสปริงภายใน
วงจรควบคุมกระบอกสูบสองทาง
กระบอกสูบทำงานสองทาง ใช้วาล์ว 4/2 เลื่อนลิ้นไปด้วยมือ เลื่อนลิ้นกลับด้วยปริง

หลักการทำงาน
ตำแหน่งปกติ วาล์ว 4/2 จะต่อลมจาก 1(P) ไป 2(B) เข้ากระบอกสูบด้านก้านสูบเพื่อบังคับให้ลูกสูบอยู่ภายในกระบอกสูบ
ตำแหน่งการทำงาน เมื่อกดวาล์ว 4/2 ลมจะไหมจาก 1(P) ไป 4(A) เข้ากระบอกสูบด้านลูกสูบ ลูกสูบจะเคลื่อนที่ออกพร้อมๆกันนั้น ลมจากด้านก้านลูกสูบจะไหลผ่าน (2B) ไป (3R) สู่บรรยากาศ เมื่อปล่อยมือจากวาล์ว สปริงจะดันวาล์วให้เลื่อนกลับตำแหน่งปกติ

การควบคุมโดยทางอ้อม
การควบคุมโดยทางอ้อมเป็นการต่อลมจากแหล่งจ่ายผ่านวาล์วควบคุมทิศทางไปบังคับให้วาล์วหลักทำงาน แล้วลมจากแหล่งจ่ายจะไหลผ่านวาล์วหลักกลับไปกระบอกสูบ เหมาะสำหรับงานที่จุดควบคุมอยู่ห่างจากอุปกรณ์ทำงานคือกระบอกสูบ เป็นการแก้ความดันตกในสาย ซึ่งทำให้ความดันลมไปดันกระบอกสูบลดลง และกรณีกระบอกสูบขนาดใหญ่ เมื่อใช้วาล์วควบคุมทิศทางซึ่งมีขนาดเล็กความดันที่ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่มีน้อย. ไม่เพียงพอที่จะเคลื่อนที่ทันทีทันใด จึงต้องรอเวลาสะสิปริมาณลม ดั งนั้นจึงใช้วาล์วหลักซึ่งมีขนาดท่อลมใหญ่กว่าและสามารถต่อใกล้กับอุปกรณ์ทำงาน

วงจรควบคุมกระบอกสูบทางเดียว
กระบอกสูบทางเดียว ใช้วาล์ว 3/2 เลื่อนลิ้นไปด้วยมือ ควบคุมวาล์ว 3/2 เลื่อนลิ้นไปด้วยลมดัน เลื่อนลิ้นกลับด้วยสปริง

หลักการทำงาน
ตำแหน่งปกติ ลูกสูบจะอยู่ในกระบอกสูบด้วยแรงสปริงภายใน ลมจากแหล่งจ่ายจึงถูกปิด
ตำแหน่งการทำงาน เมื่อกดวาล์ว 3/2 ลมจะไหลจาก 1(P) ไป 2(A) เข้าท่อ 10(Z) ของวาล์ว 3/2 เลื่อนด้วยลม(กลับด้วยสปริง) ทำให้วาล์วหลัก 3/2 เลื่อน ลมไหลจาก 1(P) ไป 2(A) เข้ากระบอกสูบ ทำให้กระบอกสูบเคลื่อนที่ออก เมื่อปล่อยมือจากวาล์ว3/2 จะเลื่อนกลับด้วยสปริง ลม 10(Z) ก็สามารถระบายออกโดยผ่าน 2(A) ไป 3(R) ทำให้วาล์วหลัก 3/2 เคลื่อนกลับด้วยสปริง ลมจากกระบอกสูบระบายออกโดยผ่าน 2(A) ไป 3(R) ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่กลับด้วยสปริงภายใน

วงจรควบคุมกระบอกสูบสองทาง
กระบอกสูบทำงานสองทาง ใช้วาล์ว 3/2 เลื่อนลิ้นไปด้วยมือ 2 ตัว และวาล์ว 4/2 เลื่อนลิ้นไปและเลื่อนลิ้นกลับด้วยลม

หลักการทำงาน
ตำแหน่งปกติ ลูกสูบจะอยู่ในกระบอกสูบ โดยลมจากแหล่งจ่ายผ่านวาล์วหลัก 1(P) ไป 2(B) เข้ากระบอกสูบด้านก้านสูบ และลมจากด้านก้านระบายทิ้งผ่าน 2(B) ไป 3(R) ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ออก เมื่อปล่อยวาล์ว 3/2 เลื่อนกลับด้วยสปริง แต่ลูกสูบยังคงค้างอยู่ เพราะวาล์ว 4/2 ไม่มีความดันให้เลื่อนกลับ ต้องกดวาล์ว 3/2 อีกตัว ทำให้ลมไหลจาก 1(P) ไป 2(A) เข้า 12(Y)
ทำให้วาล์วหลัก 4/2 เลื่อน กลับลมเข้ากระบอกสูบ ลมด้านลูกสูบระบายทิ้ง ลูกสูบจึงเคลื่อนที่กลับ